BONE ARCHITECTURE,2007
![]() |
![]() |
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree
MASTER OF ARCHITECTURE
Department of Architecture
Graduate School
SILPAKORN UNIVERSITY 2007
: MAJOR : ARCHITECTURE
KEY WORD : HUMAN JOINT BONES
NIKORN INDRA-PAYOONG : BONE ARCHITECTURE. THESIS ADVISOR : ASSOC.PROF. VIRA INPUNTUNG.
The design process aimed to study the nature of the moving of human’s jointed bones mainly, by analyzing their characteristics whether they were alike or not in each in comparision with the characteristics of bone architecture and made an experiment to construt design process of self – moving architectural structure and observed the changes of space and Form.
The scope of this design process was to study definition , meaning and working characteristics of jointed bones and to find the relationship of architectural space and form ,brought the procedure form the experiment to test with the experiment of building architectural design in accordance with environment in response to using spaces , such as people and activities.
The result of this design process, the study brought it to analyze and observed characteristics of structures which had form and space that could be developed and applied for real moving architectural design and if was a guideline in design process for interested person.
: สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
คำสำคัญ : ข้อต่อของกระดูกมนุษย์
นิกร อินทร์พยุง : สถาปัตยกรรมกระดูก. อาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ : รศ.วีระ อินพันทัง.
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาธรรมชาติในการเคลื่อนไหวของระบบข้อต่อของกระดูกมนุษย์เป็นหลัก เพื่อที่จะนำมาวิเคราะห์ว่าลักษณะข้อต่อในแต่ละประเภทนั้นมีรูปแบบการใช้งานที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับลักษณะข้อต่อทางสถาปัตยกรรมและทำการทดลองสร้างกระบวนการออกแบบโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่สามารถเคลื่อนไหวได้ในตัวเอง และสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของที่ว่างและรูปทรงทางสถาปัตยกรรม
ขอบเขตของการศึกษาเพื่อศึกษาหานิยาม ความหมาย และลักษณะหน้าที่การใช้งานของข้อต่อของกระดูกและหาความสัมพันธ์ของพื้นที่ว่างทางสถาปัตยกรรม ที่ได้แนวคิดจากระบบข้อต่อกระดูกของมนุษย์มาใช้กับพื้นที่ว่างทางสถาปัตยกรรมและได้นำกระบวนการจากการทดลองกับงานออกแบบสถาปัตยกรรมประเภทอาคารที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและ ตอบสนองต่อพื้นที่ใช้สอยนั้นๆ อาทิเช่นคนและกิจกรรมต่างๆ และหวังว่าแนวทางการศึกษาสถาปัตยกรรมกระดูกนี้จะเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ผลของการศึกษาและการออกแบบในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้นำมาวิเคราะห์และสังเกตเห็นลักษณะของโครงสร้างที่มีรูปทรงและที่ว่างซึ่งสามารถนำไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่เคลื่อนไหวได้จริงและ เป็นแนวทางในการออกแบบแก่ผู้สนใจต่อไปด้วย