OverLap Architect Studio

We Design The Future

  • HOME
  • BIOGRAPHY
  • PROJECTS
    • ARCHITECTURE & INTERIOR
    • COMPETITION & EXPERIMENT
  • PUBLICATIONS & NEWS
    • PUBLICATIONS
    • RETROSPECTIVE & EVENTS
  • CONTACT

ASA LANNA,2014

2back

 

 

0-1
PLATE 01
PLATE 02
PLATE

s
15
16
17

18
19
20
21

22
23


2back

 

 

COMPETITION : THE  ASSOCIATION  OF  SIAMESE  ARCHITECTS  UNDER  THE  ROYAL   PATRONAGE  OF  HIS  MAJESTY  THE  KING

: Location , Chiamg Mai @ Thailand.

: Site Area ,   1  rai

ประกวดแบบ “ที่ทำการสมาคม สถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปภัมถ์(ล้านนา)”

แนวความคิดการออกแบบสถาปัตยกรรม คำนึงถึงความหมายและที่มาของอดีตเมืองสิบแสนนา ด้วยการนำเสน่ห์ของเอกลักษณ์ “เขียงนา” ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ตั้งอยู่บนลานนาทุกแห่ง มีประโยชน์ใช้สอยนานับการ ด้วยการแสดงออกในงานภูมิสถาปัตยกรรมและตำแหน่งตัวสถาปัตยกรรมหลัก ที่วางอาคารอยู่ใจกลางพื้นที่โครงการโดยมีภูมิสถาปัตยกรรมที่วิเคราะห์และสังเคราะห์ลวดลายบนพื้นที่โดยรอบอาคาร ซึ่งมีลีลาที่อุปมาเสมือนคันนาและนาข้าวที่ปกคลุมพื้นที่โดยรอบนำไปสู่ตัวสถาปัตยกรรมหลัก ผ่านองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมล้านนาเช่น “รั้วสลาบ”ซึ่งเป็นส่วนควบคุมที่ว่างบริเวณด้านหน้าทางเข้าอาคาร ให้แยกพื้นที่ระหว่างลานนาและสถาปัตยกรรมหลัก เพื่อให้ผู้ใช้งานที่เดินผ่านรั้วสลาบทราบซึ่งถึงความหมายและเข้าถึงคำว่าล้านนาจึงได้ปลูกข้าวจริงบนพื้นนำของสระที่อยู่สองข้างทางก่อนเข้าตัวอาคาร “รั้วตาแสง”ถูกนำไปใช้บริเวณโถงต้อนรับภายในซึ่งเป็นพื้นที่ที่แยกส่วนสาธารณะและส่วนห้องประชุม ซึ่งบริเวณโถงกลางประกอบไปด้วย  “โคมยี่เปง”ที่ถูกหอยลอยผ่านพื้นที่เปิดโล่งตั้งแต่ชั้นล่างผ่านจนถึงยอดหลังคา เพื่อเกิดความสวยงามของที่ว่างทางสถาปัตยกรรมและแสดงถึงเอกลักษณ์ที่สำคัญของประเพณีล้านนาและแสดงถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นในอาคารในยามค่ำคืน ซึ่งรั้วสลาบและรั้วตาแสงถูกวิเคราะห์ถึงมิติของเวลาที่แปรผันตรงกับมิติแสงและสังเคราะห์เพื่อให้เกิดคุณภาพของแสงและเงาที่ดีที่สุดในสถาปัตยกรรม

สุนทรียภาพและความเป็นอัตตลักษณ์ ของสถาปัตยกรรมที่สะท้อนออกมาในรูปแบบของที่ว่างของ “ที่ทำการ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ล้านนา)” โดยเริ่มต้นจากการย้อนอดีตถึงความเป็นตัวตนที่แสดงความเป็นปัจเจกที่สำคัญของบริบทอดีตราชอาณาจักรตอนเหนือของสยาม ซึ่งคำว่า “ล้านนา” มีรากศัพท์ที่เก่าแก่จากภาษาบาลีและมีความหมายที่แสดงถึงอัตตลักษณ์  “เมืองสิบแสนนา” นั้นแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองและความอุดมสมบูรณ์ของบริบท ที่อุปมาเสมือนความเจริญรุ่งเรืองทางถ้าสถาปัตยกรรมล้านนาที่แสดงออกผ่านท่วงทำนองทางกลิ่นอาย, อารมณ์, การใช้ชีวิต, วัฒนธรรมและประเพณี ที่สำคัญมาตั้งแต่อดีตจวบจนส่งผลกระทบมาถึงปัจจุบัน โดยสถาปัตยกรรมล้านนานั้นมีองค์ประกอบต่างๆที่น่าสนใจและน่าค้นหาเป็นอย่างยิ่ง องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเหล่านี้ถูกนำมาใช้และแสดงออกในงานสถาปัตยกรรมโดยผ่านกรรมวิธีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ถึงความหมายและประโยชน์การใช้สอยจริง

แนวความคิดในการออกแบบอาคารเขียว ผ่านกระบวนการคิดที่พึ่งพาด้วยตนเองโดยให้สถาปัตยกรรมลดการใช้พลังได้แบบ PASSIVE ด้วยการวิเคราะห์เรื่องกระแสและทิศทางของลมที่พัดผ่านสถาปัตยกรรม ทำให้สถาปัตยกรรมเย็นตลอดเวลาประกอบกับการวางสระน้ำซึ่งอุปมาเสมือน “ตานน้ำ”ที่วางอยู่บริเวณหน้าบ้านในสมัยอดีตเพื่อให้ผู้สัญจรได้ตักดื่ม ตามความเชื่อที่ว่าจะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์และผู้อยู่อาศัยมีความร่มเย็นเป็นสุข โดยตำแหน่งของสระน้ำที่ว่าถึงอยู่ทางด้านหน้าโครงการซึ่งเป็นทิศตะวันตกที่มีความร้อนสูงสุดในแต่ละวัน ทำให้เกิดกับดักความร้อนก่อนที่กระแสลมจะพัดพานำความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร

 

Slideshow

1_resize
2_resize
3_resize
4_resize
5_resize
6_resize
September 2023
S M T W T F S
« Aug    
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

Blog Traffic

Pages

Pages|Hits |Unique

  • Last 24 hours: 38
  • Last 7 days: 348
  • Last 30 days: 1,078
  • Online now: 1

Navigation

  • HOME
  • BIOGRAPHY
  • PROJECTS
    • ARCHITECTURE & INTERIOR
    • COMPETITION & EXPERIMENT
  • PUBLICATIONS & NEWS
    • PUBLICATIONS
    • RETROSPECTIVE & EVENTS
  • CONTACT
September 2023
S M T W T F S
« Aug    
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

Social Network

Archives

  • August 2014
CyberChimps

CyberChimps

© OverLap Architect Studio : We Design The Future | Design by www.ThaiideaHost.com